เมนู

อเปกฺขา ได้แก่ ตัณหาอันใด คือ ความเยื่อใยอันใด. บทว่า วํสกฬีโรว
อสชฺชมาโน
คือ ไม่ข้องอยู่เหมือนหน่อไม้. มีอธิบายอย่างไร ไม้ไผ่กอใหญ่
เกี่ยวก่ายกันฉันใด ความเยื่อใยในบุตรและภรรยา แม้นั้น ชื่อว่า ข้องอยู่แล้ว
เพราะความเป็นธรรมเย็บวัตถุเหล่านั้นตั้งอยู่ ฉันนั้น เรานั้นเห็นโทษในความ
เยื่อใยอย่างนี้ว่า ข้องอยู่แล้ว ด้วยความเยื่อใยนั้น ดุจไม้ไผ่กอใหญ่ฉะนั้น
แล้วตัดเยื่อใยนั้น ด้วยมรรคญาณไม่เกี่ยวข้อง ด้วยอำนาจแห่งตัณหา มานะ
และทิฏฐิ ในรูปเป็นต้น หรือในทิฏฐิเป็นต้น หรือในโลภะเป็นต้น หรือใน
กามภพเป็นต้น หรือในกามราคะเป็นต้น ดุจหน่อไม้ไผ่นี้ จึงบรรลุปัจเจก-
โพธิญาณ ดังนี้. บทที่เหลือพึงทราบ โดยนัยก่อนนั่นแล.
วังสกฬีรคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 5


คาถาว่า มิโค อรญฺญมฺหิ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระโยคาวจร ในพระศาสนาของพระผู้มี
พระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป ทำกาลกิริยาแล้ว เกิดในตระกูลเศรษฐี
อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก ในกรุงพาราณสี เขาเป็นคนมีราคะ เพราะ
เหตุนั้น จึงประพฤติล่วงภรรยาคนอื่น ได้ถึงแก่กรรมในชาตินั้นแล้ว เกิดใน
นรก หมกไหม้ในนรกนั้นแล้ว ได้ถือปฏิสนธิเป็นหญิง ในท้องของภรรยา
เศรษฐี ด้วยเศษวิบากที่เหลือ. ร่างกายทั้งหลาย ของสัตว์ทั้งหลายที่มาจาก
นรก ย่อมเป็นของร้อน เพราะเหตุนั้น ภรรยาเศรษฐีทรงครรภ์นั้น ด้วย
ท้องที่ร้อน โดยลำบากยากเข็ญ ได้คลอดเด็กหญิงโดยกาล.

นางจำเดิมแต่วันเกิดแล้ว เป็นที่เกลียดชังของมารดาบิดา และพวก-
พ้องบริชนที่เหลือ และเจริญวัยแล้ว บิดามารดาให้ในตระกูลใด ก็เป็นที่
เกลียดชังของสามี พ่อผัวแม่ผัว ในตระกูลแม้นั้น ครั้นเขาประกาศนักษัตร
บุตรเศรษฐี เมื่อไม่ปรารถนา เพื่อจะเล่นกับธิดาของเศรษฐีนั้น นำนาง
แพศยา เล่นกีฬา. นางได้ฟังจากสำนักของทาสีทั้งหลาย จึงเข้าไปหาบุตร
เศรษฐี ค่อนว่าด้วยประการต่าง ๆ ว่า ข้าแต่ลูกเจ้า ธรรมดาสตรี แม้ถ้าเป็น
น้องสาวของพระราชาทั้ง 10 พระองค์ก็ดี เป็นธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิก็ดี
แม้ถึงอย่างนั้น ก็เป็นผู้ทำงานรับใช้สามี เมื่อสามีไม่พูดเจรจาด้วย ก็เสวยทุกข์
ดุจถูกยกขึ้นสู่หลาว จึงพูดว่า ถ้าดิฉันควรแก่การอนุเคราะห์ ก็พึงอนุเคราะห์
ถ้าไม่ควรอนุเคราะห์ ก็พึงทิ้งเสีย ดิฉันจักไปสู่ตระกูลญาติของตน บุตรเศรษฐี
กล่าวว่า ช่างเถิด นางคนสวย เจ้าอย่าเศร้าโศก จงเตรียมการเล่น พวกเรา
จักเล่นนักษัตร.
ธิดาเศรษฐีเกิดอุตสาหะด้วยเหตุสักว่าการปราศัยแม้มีประการเพียงนั้น
จึงคิดว่า พรุ่งนี้เราจักเล่นนักษัตร แล้วจัดแจงของเคี้ยวและของบริโภคจำนวน
มาก ในวันที่สอง บุตรเศรษฐีไม่บอก เลยไปในสนามกีฬา นางคิดว่า จักส่ง
ไปในบัดนี้ นั่งแลดูทางอยู่ เห็นตะวันสายแล้ว จึงส่งคนทั้งหลาย คนเหล่านั้น
กลับมาบอกว่า บุตรเศรษฐีไปแล้ว นางจึงถือของเคี้ยวและของบริโภคที่
ตระเตรียมนั้นทั้งหมดขึ้นสู่ยาน ปรารภเพื่อจะไปสู่อุทยาน. ลำดับนั้น พระ
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าที่เงื้อมนันทมูลกะออกจากนิโรธในวันที่ 7 ล้างหน้าที่สระ
อโนดาต เคี้ยวไม้สีฟันนาคลดา นึกอยู่ว่า วันนี้จักเที่ยวไปภิกษา ณ ที่ไหน
เห็นธิดาเศรษฐีนั้น ก็รู้ว่า ธิดาเศรษฐีนี้ ทำสักการะในเราแล้ว กรรมนั้นจักถึง

ความหมดสิ้นไป ยืนที่พื้นมโนศิลากว้าง 60 โยชน์ ที่ใกล้เงื้อมนั้น นุ่งแล้ว
ถือบาตร จีวร เข้าฌานซึ่งมีอภิญญาเป็นบาท เหาะมาลงที่สวนทางของธิดา
เศรษฐีนั้น มุ่งหน้าไปสู่กรุงพาราณสี ทาสีทั้งหลายเห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้นแล้ว บอกแก่ธิดาเศรษฐี.
นางเห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นแล้ว ลงจากยาน ไหว้โดยเคารพ
รับบาตรให้เต็มด้วยขาทนียะและโภชนียะที่ถึงพร้อมด้วยรสทั้งปวง และปิดด้วย
ดอกปทุม ทำดอกปทุมไว้ใต้บาตร ถือกำดอกไม้ เข้าไปหาพระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้า ถวายบาตรที่มือของท่าน ไหว้แล้ว มือถือกำดอกไม้ ตั้งปรารถนาว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเกิดในชาติใด ๆ ก็ขอให้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของ
มหาชนในชาตินั้น ๆ เหมือนดอกไม้นี้เถิด ครั้นตั้งปรารถนาอย่างนี้แล้ว จึง
ตั้งปรารถนาแม้ครั้งที่ 2 ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ การอยู่ในครรภ์เป็นทุกข์ ขอ
ปฏิสนธิพึงมีในดอกปทุมเท่านั้น โดยไม่ต้องอาศัยครรภ์นั้นเถิด แล้วตั้ง
ปรารถนาแม้ครั้งที่ 3 ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มาตุคามอันมหาชนพึงรังเกียจ
แม้พระธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิก็ยังไปสู่อำนาจบุรุษ เพราะฉะนั้น ขอดิฉัน
อย่าถึงความเป็นสตรี พึงเป็นบุรุษเถิด ตั้งปรารถนาแม้ครั้งที่ 4 ว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ขอดิฉันพึงก้าวล่วงสังสารทุกข์นี้ บรรลุพระอรหัตอันเป็นอมตะที่
ท่านได้บรรลุแล้วในที่สุดเถิด ครั้นทำความปรารถนา 4 อย่างนี้แล้ว เอากำ
ดอกปทุมนั้น บูชาพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้ว
ทำความปรารถนาที่ 5 นี้ว่า ขอดิฉันจงมีกลิ่นและวรรณะเป็นเช่นกับดอกปทุม
นั่นเถิด.
ลำดับนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ารับบาตรและกำดอกไม้แล้ว ยืน
ในอากาศ ทำอนุโมทนาแก่ธิดาเศรษฐี ด้วยคาถานี้ว่า

ขอสิ่งที่ต้องการ ที่ปรารถนาจงสำเร็จ
แก่ท่านโดยเร็วพลันเถิด ขอความดำริทั้งปวง
จงเต็ม เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ ดังนี้

แล้วอธิษฐานว่า ขอธิดาเศรษฐีจงเห็นเราผู้กำลังไปเถิด แล้วไปสู่
เงื้อมนันทมูลกะ. ปีติใหญ่เกิดแล้วแก่ธิดาเศรษฐี เพราะเห็นพระปัจเจก
สัมพุทธเจ้านั้น อกุศลกรรมที่ทำไว้ในระหว่างภพ ก็สิ้นไปเพราะไม่มีโอกาส
นางเป็นผู้บริสุทธิ์ ดุจภาชนะทองแดงที่ขัดด้วยมะขามเปรี้ยว ทันใดนั้น ชน
ทั้งหมดในตระกูลผัว และตระกูลญาติทั้งปวง ก็ยินดีต่อนาง ต่างก็คิดว่า
พวกเราจะทำอะไร แล้วส่งคำที่น่ารักและเครื่องบรรณาการไปให้ บุตรเศรษฐี
ก็ส่งคนทั้งหลายไปว่า พวกท่านจงนำธิดาเศรษฐีมาเร็ว ๆ เราระลึกได้
มาสู่อุทยานแล้ว และจำเดิมแต่นั้น ก็รักนางปกครองดุจจันทน์ที่ลูบไล้ที่อก ดุจ
มุกดาหารที่ห้อยไว้ และดุจระเบียบดอกไม้. นางดำรงอยู่ในชาตินั้น เสวย
อิสริยสุขและโภคสุข ตลอดอายุแล้ว ตายไปเกิดในดอกปทุมในเทวโลก โดย
ความเป็นบุรุษ เทพบุตรนั้น แม้เมื่อจะไป ก็ไปบนกลีบปทุมเท่านั้น เมื่อ
จะยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี ก็ย่อม ยืน นั่ง นอน แม้บนกลีบปทุมเท่านั้น และ
เทพทั้งหลายจึงได้ขนานนามเทวบุตรนั้นว่า มหาปทุมเทวบุตร เทวบุตรนั้น
ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลก 6 ชั้นเท่านั้น ด้วยอานุภาพนั้น ด้วยประการฉะนี้.
ก็โดยสมัยนั้น พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงมีสตรี 20,000 นาง แม้
พระราชาก็ไม่ทรงได้พระโอรสในท้องของสตรีแม้นางหนึ่งเลย อำมาตย์ทั้งหลาย
กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ พระราชโอรสที่จะสืบ
ตระกูลวงศ์ พระองค์พึงทรงปรารถนา และเมื่อไม่มีพระราชโอรสที่เกิดจาก

พระองค์ แม้พระราชโอรสเกิดในเขต ก็จะทรงดำรงตระกูลวงศ์ได้ พระเจ้าข้า
พระราชาทรงให้สตรีนักฟ้อนที่เหลือเว้นพระมเหสีประพฤติตามลำพังว่า พวก
เจ้าจงทำการฟ้อนรำโดยธรรม ตลอดเจ็ดวัน แม้อย่างนั้น ก็ไม่ได้พระโอรส
อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลอีกว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดาพระมเหสีทรงมีบุญ
และมีปัญญา เลิศกว่าสตรีทั้งปวง ชื่อไฉนพระองค์พึงทรงได้พระราชโอรส ใน
พระครรภ์แม้ของพระมเหสี พระราชาตรัสบอกเนื้อความนั่นแก่พระมเหสี
พระนางทูลว่า จริง มหาราช สตรีใดกล่าวคำสัจ รักษาศีล สตรีนั้นพึงได้บุตร
เพราะสตรีเว้นจากหิริและโอตตัปปะแล้ว บุตรจะมีได้แต่ที่ไหน พระนางเสด็จ
ขึ้นสู่ปราสาท ทรงสมาทานศีล 5 ทรงนึกถึงบ่อย ๆ เมื่อพระราชธิดาผู้มีศีล
ทรงนึกถึงศีล 5 พอมีพระทัยปรารถนาพระราชโอรสเกิดขึ้น อาสน์ของท้าว
สักกะก็หวั่นไหว.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงนึกอยู่ ทรงรู้ความนั้น ทรงดำริว่า เราจัก
ให้พรคือบุตรแก่ราชธิดาผู้มีศีล ดังนี้แล้ว เหาะมาประทับยืนตรงพระพักตร์ของ
พระเทวีแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนพระเทวี พระองค์ทรงปรารถนาอะไร. พระราช
โอรส มหาราช. ท้าวสักกะตรัสว่า ดูก่อนพระเทวี เราจะให้พระโอรสแก่
พระองค์ ขอพระองค์อย่าทรงคิด ดังนี้แล้ว เสด็จสู่เทวโลก ทรงนึกอยู่ว่า
ในเทวโลกนี้ เทวบุตรผู้สิ้นอายุมีอยู่หรือหนอ ทรงทราบว่า มหาปทุมเทวบุตร
นี้ จะเคลื่อนจากเทวโลกนี้ เพื่อบังเกิดในเทวโลกชั้นสูง ดังนี้แล้ว เสด็จไปสู่
วิมานของมหาปทุมเทวบุตรนั้น ตรัสขอว่า ดูก่อนพ่อมหาปทุม เจ้าจงไปสู่
มนุษยโลก เทวบุตรนั้นทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่าตรัสอย่างนั้นเลย
มนุษยโลกน่าเกลียด.

ส. ดูก่อนพ่อ คนทำบุญในมนุษยโลกแล้วเกิดในเทวโลกนี้ เจ้าจงไป
เพื่อดำรงอยู่ในมนุษยโลกนั้นบำเพ็ญบารมีทั้งหลายเถิด พ่อ !
ม. ข้าแต่มหาราช การอยู่ในครรภ์เป็นทุกข์ ข้าพระองค์ไม่อาจเพื่ออยู่
ในครรภ์นั้น.
ส. ดูก่อนพ่อ เจ้าจะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ในครรภ์เล่า ด้วยว่า
เจ้าได้ทำกรรมโดยประการที่ตนจักเกิดในกลีบปทุมเท่านั้น ไปเถิด พ่อ !
เทวบุตรนั้น เมื่อถูกท้าวสักกะตรัสบ่อย ๆ จึงยอมรับคำเชิญ.
ต่อแต่นั้น มหาปทุมเทวบุตรเคลื่อนจากเทวโลก เกิดในกลีบปทุม
ในสระโบกขรณี ใกล้พระแท่นศิลา ในพระราชอุทยานของพระเจ้ากรุงพาราณสี
ก็ในคืนนั้น พระมเหสีทรงพระสุบินในสมัยใกล้รุ่ง เป็นเหมือนมีสตรี 20,000
นางแวดล้อม เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน ได้พระโอรสในกลีบปทุม ในสระ
โบกขรณี ใกล้พระแท่นศิลา พระนางทรงรักษาศีลในราตรีจวนสว่าง เสด็จ
ไปที่พระแท่นศิลาอย่างนั้นเทียว ทรงเห็นดอกปทุมดอกหนึ่ง ดอกปทุมนั้น
ไม่อยู่ใกล้ฝั่ง ไม่อยู่ลึก และพร้อมกับทรงเห็นนั้นแล พระนางก็ทรงเกิดความ
เยื่อใยในพระโอรสในดอกปทุมนั้น พระนางเสด็จเข้าไปตามลำพังพระองค์
ทรงจับดอกนั้น พอพระนางทรงจับดอกเท่านั้น. กลีบทั้งหลายก็แย้มออก.
พระนางทรงเห็นทารกดุจรูปทองคำที่ติดอยู่ในกลีบนั้น ครั้นทรงเห็นแล้วเทียว
ก็ทรงเปล่งพระสุรเสียงว่า เราได้บุตรแล้ว มหาชนก็เปล่งเสียงสาธุการตั้งพัน
และพระนางก็ทรงส่งข่าวถวายพระราชา พระราชาทรงสดับแล้ว จึงตรัสถามว่า
ได้บุตรที่ไหน และทรงสดับโอกาสที่ได้แล้ว จึงตรัสว่า อุทยานและปทุมใน
สระโบกขรณี เป็นเขตของเราเท่านั้น เพราะฉะนั้น บุตรคนนี้ชื่อว่า บุตร

เกิดในเขต เพราะเกิดในเขตของเรา ตรัสให้เสด็จเข้าสู่พระนคร ทรงให้สตรี
20,000 นาง ทำหน้าที่พระพี่เลี้ยง สตรีใด ๆ ให้พระกุมารทรงรู้ ทรงเคี้ยว
พระขาทนียะที่ทรงปรารถนาแล้ว ๆ สตรีนั้น ๆ ย่อมได้ทรัพย์พันหนึ่ง ชาว
พระนครพาราณสีทั้งสิ้นเคลื่อนไหว ชนทั้งปวงส่งบรรณาการตั้งพันถวายพระ-
กุมาร พระกุมารถูกมหาชนนำสิ่งนั้น ๆ ทูลว่า จงทรงเคี้ยวสิ่งนี้ จงเสวยสิ่งนี้
ก็ทรงเบื่อระอาด้วยโภชนะ ก็เสด็จไปสู่ซุ้มพระทวาร ทรงเล่นกับก้อนครั่ง.
ในกาลครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง อาศัยกรุงพาราณสีอยู่ที่
อิสิปตนะ ท่านลุกขึ้นตามกาล ทำกิจทั้งปวงมีเสนาสนวัตร บริกรรมร่างกาย
และมนสิการเป็นต้น ออกจากที่หลีกเร้น นึกอยู่ว่า วันนี้ จักรับภิกษาที่ไหน
เห็นสมบัติของพระกุมารแล้ว พิจารณาว่า ในกาลก่อน พระกุมารนี้ทรงทำ
กรรมอะไร ดังนี้ รู้ว่า พระกุมารนี้ได้ถวายบิณฑบาตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
เช่นเรา แล้วตั้งปรารถนา 4 อย่าง ในปรารถนา 4 อย่างนั้น 3 อย่างสำเร็จ
แล้ว อีกอย่างหนึ่ง ยังไม่สำเร็จก่อน เราจักให้อารมณ์โดยอุบายแก่พระกุมาร
นั้น ดังนี้แล้ว ได้ไปสู่สำนักของพระกุมาร ด้วยอำนาจแห่งภิกขาจริยา พระ
กุมารทรงเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้ว ตรัสว่า ข้าแต่พระสมณะ ท่าน
อย่ามาในที่นี้ ด้วยว่า คนเหล่านั้นพึงกล่าวแม้กะท่านว่า จงเคี้ยวสิ่งนี้ จงกิน
สิ่งนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น กลับจากที่นั้น ด้วยคำพูดคำเดียวเท่านั้น เข้า
ไปสู่เสนาสนะของตน.
ฝ่ายพระกุมารตรัสกะชนว่า สมณะนี้พอถูกเราพูดแล้ว ก็กลับ โกรธ
แก่เราหรือหนอ แต่นั้น แม้อันซนเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ

ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลายเป็นผู้โกรธเป็นเบื้องหน้าหามิได้ ย่อมเป็นอยู่ด้วย
ปัจจัยที่คนอื่นถวายด้วยใจเลื่อมใส ดังนี้ ทรงดำริว่า สมณะนั่นคงเป็นอย่างนั้น
จึงทูลแด่พระมารดาและพระบิดาว่า จักยังพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นให้อดโทษ
ดังนี้แล้ว เสด็จทรงช้าง เสด็จไปสู่ป่าอิสิปตนะ ด้วยอานุภาพพระราชาอัน
ยิ่งใหญ่ ทรงเห็นฝูงเนื้อจึงตรัสถามว่า เหล่านั้นชื่ออะไร.
บ. เหล่านั้นชื่อว่า เนื้อ พระเจ้าข้า.
ก. เนื้อเหล่านั้น กล่าวว่า จงเคี้ยวสิ่งนี้ จงกินสิ่งนี้ จงลิ้มสิ่งนี้ ดังนี้แล้ว
ปฏิบัติอยู่ มี หรือ ไม่มี.
บ. ไม่มีพระเจ้าข้า ที่ใดมีหญ้าและน้ำหาง่าย เนื้อทั้งหลายก็อยู่ในที่นั้น.
พระกุมารทรงคิดว่า เนื้อเหล่านี้ ถึงไม่มีใครรักษา ก็ย่อมอยู่ในที่ที่
ปรารถนา ฉันใด ในกาลใดหนอแล แม้เราก็พึงอยู่ ฉันนั้น ดังนี้แล้ว ทรง
ยึดถือข้อนั้นเป็นอารมณ์.
ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้ารู้การเสด็จมาของพระกุมารนั้นแล้ว กวาดทาง
แห่งเสนาสนะ และที่จงกรม ทำให้เกลี้ยง แล้วแสดงรอยเท้าเดินจงกรม 1-2-3
รอย กวาดโอกาสแห่งที่เป็นที่อยู่ในกลางวันและบรรณศาลา ทำให้เกลี้ยง
แล้ว แสดงรอยเท้าเข้าไป แต่ไม่แสดงรอยเท้าออกมา แล้วไปในที่อื่น พระ-
กุมารเสด็จไปในที่นั้น ทรงเห็นประเทศนั้น ซึ่งกวาดทำให้เกลี้ยงแล้ว ทรง
คิดว่า ชะรอยพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นอยู่ในที่นั่น ทรงสดับคำที่บริชนทูล
แล้ว ตรัสว่า ก็พระสมณะนั่นโกรธแม้แต่เช้า บัดนี้เห็นช้างและม้าเป็นต้น
เหยียบโอกาสของตน ก็จะพึงโกรธยิ่งขึ้น พวกท่านจงนั่งในที่นี้เท่านั้น ดังนี้

แล้ว เสด็จลงจากคอช้าง พระองค์เดียวเท่านั้น เสด็จเข้าสู่เสนาสนะ ทรง
เห็นรอยเท้าในโอกาสที่กวาดดีแล้วตามข้อวัตร มีพระทัยเลื่อมใสว่า พระสมณะ
นี้ จงกรมอยู่ในที่นี้ คงไม่คิดถึงการค้าขายเป็นต้น ชะรอยจะคิดถึงประโยชน์
เกื้อกูลของตนเท่านั้น แน่แท้ เสด็จขึ้นสู่ที่จงกรม ทรงกระทำให้ห่างไกลจาก
วิตกอันหนาแน่น ประทับนั่งบนแผ่นศิลา ทรงมีอารมณ์เดียวเกิดพร้อมแล้ว
เสด็จเข้าสู่บรรณศาลา ทรงเห็นแจ้งอยู่ ทรงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ครั้น
ปุโรหิตทูลถามถึงกรรมฐาน โดยนัยก่อนนั่นแล ประทับนั่งบนนภากาศ ตรัส
พระคาถานี้ว่า
มิโค อรญฺญมฺหิ ยถา อพนฺโธ
เยนิจฺฉกํ คจฺฉติ โคจราย
วิญฺญู นโร เสริตํ เปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกแล้ว ย่อม
ไปหากินตามความปรารถนา ฉันใด นรชน
ผู้รู้แจ้ง เพ่งความประพฤติตามความพอใจ
ของตน พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
ฉะนั้น ดังนี้.

บทว่า มิโค ได้แก่ เนื้อ 2 ชนิด คือ เนื้อกินหญ้า 1 เนื้อกิน
รากเหง้า 1. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า มิโค นั่น เป็นชื่อของสัตว์ 4 เท้า ที่อยู่ในป่า
ทั้งหมด. อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ท่านประสงค์เอาเนื้อกิน

รากเหง้า. บทว่า อรญฺญมฺหิ ได้แก่ ในป่าที่เหลือ เว้นบ้านและอุปจารของ
บ้าน. ก็ในคาถานี้ท่านประสงค์เอาป่า. อธิบายว่า ในอุทยาน. คำว่า ยถา
เป็นคำเปรียบเทียบ.
บทว่า อพนฺโธ ความว่า ที่บุคคลไม่ผูกแล้ว ด้วยวัตถุทั้งหลาย
มีเครื่องผูกคือเชือกเป็นต้น. บทว่า เยนิจฺฉกํ ความว่า เนื้อย่อมปรารถนา
เพื่อไป โดยทิศาภาคใด ๆ ย่อมไปหากิน โดยทิศาภาคนั้น ๆ. สมดังพระดำรัส
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เนื้อในป่า เที่ยวในป่า
ในป่าใหญ่ ไม่ระแวงไป ไม่ระแวงยืน ไม่ระแวงหมอบ ไม่ระแวงนอน
นั้นเพราะเหตุอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเนื้อไม่ไปสู่ทางของนายพราน
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม
ทั้งหลาย ฯลฯ เข้าปฐมฌานอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า ได้
กระทำมารให้มืด ให้ไม่มีเท้า ครั้นฆ่าแล้วก็ไปสู่ที่ที่มารผู้บาปไม่เห็นได้.
บทว่า วิญฺญู นโร ได้แก่ คนเป็นบัณฑิต. บทว่า เสริตํ ได้แก่
ความประพฤติตามความพอใจของตน คือ ความประพฤติที่ไม่เนื่องกับบุคคล
อื่น. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกแล้ว ย่อมไปหากิน
ตามความปรารถนาฉันใด แม้เราก็ตัดเครื่องผูกคือตัณหาได้อย่างนั้นแล้ว ก็พึง
ไปฉันนั้น นรชนผู้รู้แจ้ง คือ บัณฑิต เพ่งความประพฤติตามความพอใจของ
ตน พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียวแล.
มิคอรัญญคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 6


คาถาว่า อามนฺตนา โหติ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
อำมาตย์ทั้งหลายได้เข้าไปเฝ้า ในสมัยเป็นที่บำรุงใหญ่ ของพระเจ้า-
กรุงพาราณสี ในอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่ง ทูลขอการไปในที่สุดส่วน
หนึ่งว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ สิ่งที่พึงฟังมีอยู่ดังนี้ เขาก็ลุกไป. คนหนึ่งทูล
ขอกะพระองค์ผู้ประทับนั่งในที่บำรุงใหญ่อีก คนหนึ่งทูลขอช้างกะพระองค์ผู้
ประทับนั่งบนคอช้าง คนหนึ่งทูลขอม้ากะพระองค์ผู้ประทับนั่งบนหลังม้า คน
คนหนึ่งทูลขอรถทองกะพระองค์ผู้ประทับนั่งในรถทอง คนหนึ่งทูลขอวอกะ
พระองค์ผู้ประทับนั่งในวอแล้วไปสู่อุทยาน พระราชาเสด็จลงจากวอประทาน
ให้ คนอื่นทูลขอกะพระองค์ผู้กำลังเสด็จไปสู่จาริกในชนบท พระราชาทรงสดับ
คำของตนแม้นั่น เสด็จสงจากคอช้าง เสด็จไปสถานที่แห่งหนึ่ง.
พระองค์ทรงเอือมระอาด้วยอำมาตย์เหล่านั้น อย่างนี้แล้ว ทรงผนวช
อำมาตย์ทั้งหลายเจริญด้วยอิสริยยศ ในอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่ง
ไปทูลกะพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงพระราชทานชนบท ชื่อโน้น
ให้แก่ข้าพระองค์ พระราชาตรัสว่า คนชื่อนี้ปกครองชนบทนั้นอยู่ เขาไม่
เอื้อเฟื้อพระดำรัสของพระราชาแล้วทูลว่า ข้าพระองค์จะไป จะยึดชนบทนั้น
ครอบครองดังนี้แล้ว ไปในชนบทนั้นทำการทะเลาะ แม้ทั้งสองมาสู่พระราช
สำนักอีก ทูลบอกโทษของกันและกัน พระราชาทรงพระราชดำริว่า เราไม่อาจ
ให้คนทั้งสองนี้ให้ยินดีได้ ทรงเห็นความโลภของอำมาตย์เหล่านั้น ทรงเห็น
แจ้ง ทรงทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ และพระองค์ทรงเปล่งอุทานนี้ โดยนัย
ก่อนนั้นแลว่า